องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว











ขัอมูลทั่วไป

 

 ประวัติขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว

        ตำบลงิ้ว เป็นตำบลเก่าแก่ เป็นชุมชนขนาดกลางชื่อตำบลตั้งตามต้นงิ้วป่า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมีดอกที่สวยงาม ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ มีเครือญาติสืบทอดกันยาวนาน ชาวตำบลงิ้ว นับถือศาสนาพุทธ มีศูนย์รวมใจที่สำคัญของตำบลคือ ที่วัดฉิมพลี (วัดงิ้ว) วัดตะกุด วัดบ้านหนองไผ่ วัดป่าโคกคลองขุนเทียน วัดหนองปรือ โดยเฉพาะวัดตะกุดเป็นที่รวมวัตถุโบราณต่างๆ ซึ่งเป็นของเก่าแก่เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว

   ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ )

        องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ทำการอำเภอปักธงชัย ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 5-8 กิโลเมตร (ได้ยกฐานะเป็น อบต. เมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 วันเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. วันที่ 10 พฤษภาคม 2540)
แผนที่สังเขปแสดงพื้นที่ตำบลงิ้ว

เนื้อที่แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)

       องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 27 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.02 % ของพื้นที่อำเภอปักธงชัยทั้งหมด

   อาณาเขตติดต่อ

     ทิศเหนือ     ติดต่อกับ     ตำบลตะคุ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย
    ทิศใต้     ติดต่อกับ     เขตตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย
    ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ     เขตตำบลงิ้ว ตำบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย
    ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ     เขตตำบลตูม ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย


   ภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศของ อบต.)

      ตำบลงิ้วเป็นชุมชนขนาดกลาง ประชากรมีความหนาแน่นปานกลาง เป็นที่ราบลุ่มในพื้นที่ตอนบนโดยเฉลี่ยร้อยละ 65 ของพื้นที่ทั้งหมด ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200-210 ฟุต มีแม่น้ำลำพระเพลิงไหลผ่าน ระยะทางประมาณ 5.8 กิโลเมตร สร้างความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื่นเหมาะแก่การทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 208-230 ฟุต คิดเป็นร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมด สภาพภูมิอากาศมีความร้อนชื้น ฝนตกชุกในช่วงฤดูฝนและจะมีอากาศหนาวในช่วงฤดูหนาว
ภูมิอากาศตำบลงิ้ว มีลักษณะเป็นมรสุม 3 ฤดู ได้แก่
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน
     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม
     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม

 

 สภาพทางสังคม

   การศึกษา

       - โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
       - โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) 1 แห่ง
       - โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
       - ศูนย์กลางเรียนชุมชม 3 แห่ง
       - โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง - แห่ง
       - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 15 แห่ง
       - หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 1 แห่ง

   สถาบันและองค์กรทางศาสนา

       - วัด/สำนักสงฆ์ 5 แห่ง
       - มัสยิด - แห่ง
       - ศาลเจ้า - แห่ง
       - โบสถ์ - แห่ง

   สาธารณสุข

       - โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง
       - สถานีอนามัย 1 แห่ง
       - สถานพยาบาลเอกชน 2 แห่ง
       - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละหนึ่งร้อย

   ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

       - สถานีตำรวจ - แห่ง
       - สถานีดับเพลิง - แห่ง

 

 สภาพทางเศรษฐกิจ

   อาชีพ

       อาชีพหลักของประชาชนในตำบลงิ้ว ได้แก่ การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ โดยประกอบอาชีพเพื่อการจำหน่ายควบคู่ไปกับการบริโภค เช่น การทำนา ทำสวน ค้าขาย เมื่อเกษตรกรว่างเว้นจาการทำการเกษตรจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างทอผ้าไหม รายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้
       ในภาคเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 99.47 จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในตำบล ซึ่งได้แก่การทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ปลูกพืชผลยืนต้น นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงสุกรพื้นบ้าน และโค เพื่อการจำหน่ายด้วย นอกภาคเกษตรกรรม มีประมาณร้อยละ 0.53 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ทำธุรกิจและรับราชการ
       ในภาคเกษตรกรรมแรงงานได้แก่ สมาชิกในครัวเรือนและมีการจ้างแรงงานจากประชาชนในหมู่บ้านและในโรงทอผ้าไหมในเขตเทศบาล หรืออาจนำไหมกลับมาทอที่บ้าน

   ผลผลิต

       ในพื้นที่ตำบลงิ้ว ทำการเกษตรกรรมให้ผลผลิตดังนี้
       - ข้าว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม/ไร่
       - มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม
       - มะม่วง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กิโลกรัม/ไร่
       - ละมุด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 200 กิโลกรัม
       - มะพร้าว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 200 ผล/ตัน
       - พืชผักส่วนครัว เช่น แตงกวา, มะเขือ ฯลฯ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 150 กิโลกรัม/ไร่


   รายได้

       รายได้เฉลี่ยของครอบครัวมีประมาณ 25,200 บาทต่อปี รายได้ส่วนใหญ่ได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรมีดังนี้
       - ข้าว ประมาณ 7,500 บาท/ปี
       - มันสำปะหลัง ประมาณ 30,000 บาท/ปี
       - มะม่วง ประมาณ 3,000 บาท/ปี
       - ละมุด ประมาณ 2,000 บาท/ปี
       - มะพร้าว ประมาณ 1,000 บาท/ปี
       - พืชผักส่วนครัว เช่น แตงกวา, มะเขือ ฯลฯ ประมาณ 2,500-3,000 บาท/ปี


   หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

       - ธนาคาร - แห่ง
       - โรงแรม 1 แห่ง
       - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ, คลังน้ำมัน 5 แห่ง
       - โรงสี 6 แห่ง

 

ประชากร

     ประชากรทั้งสิ้น 6,523 คน แยกเป็นชาย 3,188 คน หญิง 3,335 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 242 คน/ตารางกิโลเมตร

ตารางเสดงจำนวนประชากร

 

ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร/คน จำนวนครัวเรือน
ชาย หญิง รวม
1 บ้านดอนขวาง 333 388 721 385
2 บ้านน้อย 226 203 429 150
3 บ้านงิ้ว 265 302 567 202
4 บ้านโคกคลองขุนเทียน 328 334 662 213
5 บ้านห้วย 101 124 225 65
6 บ้านไร่-เพลิงหลง 224 233 457 149
7 บ้านสำลาย 78 80 158 46
8 บ้านหนองไผ่ 254 241 495 168
9 บ้านหนองปรือ 351 361 712 217
10 บ้านกุดกระดี่ 242 265 507 147
11 บ้านหนองปล้อง 124 148 272 90
12 บ้านหนองบัว 141 152 293 107
13 บ้านโคกสามสิบ 147 155 302 101
14 บ้านหนองกระโดน 162 155 317 104
15 บ้านงิ้วเหนือ 277 351 628 199
รวม 3,253 3,492 6,745 2,343


ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2563


ตารางเสดงจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.

 

ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร/คน จำนวนครัวเรือน
ชาย หญิง รวม
1 บ้านดอนขวาง 265 318 583 344
2 บ้านน้อย 174 165 339 122
3 บ้านงิ้ว 221 253 474 186
4 บ้านโคกคลองขุนเทียน 229 231 460 166
5 บ้านห้วย 73 92 165 55
6 บ้านไร่-เพลิงหลง 183 192 375 134
7 บ้านสำลาย 73 70 143 43
8 บ้านหนองไผ่ 172 167 339 128
9 บ้านหนองปรือ 247 235 482 172
10 บ้านกุดกระดี่ 192 229 421 128
11 บ้านหนองปล้อง 96 103 199 65
12 บ้านหนองบัว 102 103 205 70
13 บ้านโคกสามสิบ 99 120 219 82
14 บ้านหนองกระโดน 119 113 232 78
15 บ้านงิ้วเหนือ 226 260 486 182
รวม 2,471 2,651 5,122 1,955


ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2552

 

 

ผลิตภัณฑ์ OTOP องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว


  มะม่วงงามเมืองย่า 

 

ไข่เค็มไอโอดีน บ้านสำลาย อ.งิ้ว จ.นครราชสีมา

 

ข้าวตังเสวย

 

การบริการพื้นฐาน

    การคมนาคม การคมนาคมที่ใช้ติดต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด ตลอดจนการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้านใช้ถนนและเส้นทางดังนี้

          - ถนนลาดยาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304
          - ถนนลูกรัง     จำนวน       13      สาย
          - ถนนคอนกรีต     จำนวน       98      สาย
          - ถนนลาดยาง     จำนวน       12      สาย
          - ถนนหินคลุก     จำนวน       20      สาย
          - ถนนดิน     จำนวน       16      สาย
          - ถนนภายในหมู่บ้านมีท่อระบายน้ำ  6      สาย


   การโทรคมนาคม

          - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข     จำนวน       -      แห่ง
          - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ     จำนวน       8      แห่ง


   การไฟฟ้า

     มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน ครบทุกหลังคาเรือน



   แหล่งน้ำธรรมชาติ

          - ลำน้ำ, ห้วย     จำนวน       2      สาย
          - บึง, หนอง     จำนวน       5      แห่ง


   แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

          - ฝาย             จำนวน       4      แห่ง
          - บ่อน้ำตื้น     จำนวน       240      แห่ง
          - บ่อน้ำบาดาล     จำนวน       86      แห่ง
          - อ่างเก็บน้ำ     จำนวน       1      แห่ง
          - การประปา             
          - ประปาหมู่บ้าน     จำนวน       5      หมู่บ้าน
          - ประปาภูมิภาค     จำนวน       10      หมู่บ้าน

 

ข้อมูลอื่น ๆ

   ทรัพย์กรธรรมชาติในพื้นที่

       - ทรัพยากรดิน ดินส่วนใหญ่เป็นดินไร่และดินนา
       - ทรัพยากรน้ำ มีลำสำลายอยู่ทางทิศเหนือของตำบล และลำพระเพลิงอยู่ในย่านกลาง ของตำบล เป็นลำน้ำสำคัญ ในพื้นที่โดยใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค

   มวลชนจัดตั้ง

       - ลูกเสือชาวบ้าน
       - กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี
       - เยาวชน
       - กลุ่ม อสม.
       - กลุ่มออมทรัพย

   อาชีพของประชากร ด้านพาณิชยกรรม แยกแต่ละประเภท ดังนี้

            1.     ร้านค้าของชำ     จำนวน       74      ร้าน
            2.     ร้านค้าเครื่องดื่ม     จำนวน       47      ร้าน
            3.     ร้านขายอาหาร     จำนวน       10      ร้าน
            4.     ร้านบริการเสริมสวย จำนวน       3      ร้าน
            5.     ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า     จำนวน       1      ร้าน
            6.     ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและวิทยุ จำนวน  1      ร้าน
            7.     ร้านซ่อมรถ     จำนวน       12      ร้าน
            8.     โรงน้ำแข็ง     จำนวน       -      ร้าน
            9.     ร้านตัดผมชาย     จำนวน       2      ร้าน
            10.     ร้านคาราโอเกะ     จำนวน       9      ร้าน
            11.     โรงงานทอผ้า     จำนวน       4      โรง

       อาชีพอื่น ๆ นอกจากอาชีพหลักแล้ว ประชาชนส่วนหนึ่ง มีอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมฟาร์มไก่ รับจ้างทอผ้าไหม รับจ้างผลิตเส้นหมี่ตะคุ รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า อาชีพเสริม เช่น ผลิตดอกไม้จันทน์ ผลิตหมอน ผลิตข้าวเกรียบ